ผู้เขียน หัวข้อ: Doctor At Home: กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)  (อ่าน 42 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 550
    • ดูรายละเอียด
Doctor At Home: กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
« เมื่อ: 18 กันยายน 2024, 20:38:04 pm »
Doctor At Home: กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)

กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) เป็นโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ที่อาจจะเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบโรคนี้ได้จากผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย กรวยไตอักเสบอาจจะเป็นโรคแทรกซ้อนของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากปล่อยอาการไว้จะทำให้เป็นโรคไตวายเรื้อรังได้

 
กรวยไตอักเสบ คืออะไร

กรวยไตอักเสบ คือ การติดเชื้อแบคทีเรียในกรวยไต โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียอีโคไลเป็นเชื้อที่พบบ่อย โดยแบ่งได้เป็นสองชนิด คือกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis) และ กรวยไตอักเสบเรื้อรัง (Chronic Pyelonephritis)

กรวยไตมีลักษณะเป็นโพรง ต่อกับท่อไต มีหน้าที่รองรับน้ำปัสสาวะ ที่กรองจากเซลล์ไต ส่งไปสู่ท่อไต

กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน และ กรวยไตอักเสบเรื้อรัง

กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบบริเวณกรวยไต เชื้อที่พบได้บ่อย เช่น อีโคไล (Escherichia Coli) สูโดโมแนส (Pseudomonas) และ เคล็บซิลลา (Klebsiella) เป็นต้น กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน จะแสดงอาการชัดเจน และรุนแรง รักษาหายภายใน2-3 สัปดาห์ มักจะพบผู้ป่วยเป็นผู้หญิงในวัยเด็ก และวัยเจริญพันธุ์มากกว่าผู้ชาย

 

กรวยไตอักเสบเรื้อรัง Chronic Pyelonephritis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไต จาากการอุดกั้นหรือความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ ไม่แสดงอาการ นอกจากการตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย และเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ ผู้ป่วยมักจะมีการอักเสบของกรวยไตเป็นระยะเวลานาน ทำให้เซลล์ของไตถูกทำลาย เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ในที่สุด


อาการกรวยไตอักเสบ

     ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย มีอาการปวดท้อง ปวดบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง

     ปัสสาวะขุ่น อาจจะข้นเป็นหนอง หรือเป็นเลือด ปัสสาวะแล้วแสบขัด ออกกะปริดกะปรอย

 
การรักษาโรคกรวยไตอักเสบ

     การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ยาไซโพรฟล็อกซาซินครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง  ซัลฟาเมท็อกซาโซล วันละ 2 ครั้ง ทุกๆ 12 ชั่วโมง เป็นต้น

     ฉีดยาปฏิชีวนะเจนตามัยซิน (Gentamicin) เข้าทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ในปริมาณครั้งละ 40-80 มิลลิกรัม ทุกๆ 8-12 ชั่วโมง หากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง ร่วมกับการให้น้ำเกลือ และยาแก้ปวดลดไข้  แพทย์จะตรวจปัสสาวะ และเลือด ติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง

 
การป้องกันกรวยไตอักเสบ

     หลีกเลี่ยงการอั้นปัสสาวะ

     ในแต่ละวันควรดื่มน้ำ 8-10 แก้ว ขึ้นไป เพื่อขับของเสียของร่างกายออกจากทางปัสสาวะ

     หลังทำการอุจจาระควรทำความสะอาดด้านหน้า ก่อนทำความสะอาดทวารหนัก เพื่อไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะ

     ทำความสะอาดอวัยวะเพศ และปัสสาวะทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์

     หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะขัด สีปัสสาวะขุ่น ควรมาพบแพทย์โดยทันที


เมื่อรักษาหายแล้วแพทย์จะทำการนัดตรวจปัสสาวะ ทุกๆ 3-4 เดือน เพื่อให้เป็นการแน่ชัดว่าจะไม่เกิดกรวยไตอักเสบเรื้อรัง เพราะถ้าหากเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ ภาวะแทรกซ้อน เช่นภาวะไตวาย และภาวะโลหิตเป็นพิษ ภาวะแทรกซ้อนนี้ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ สิ่งที่ป้องกันกรวยไตอักเสบเรื้อรัง คือการมาตามนัดหมายของแพทย์ทุกครั้ง

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google