ซ่อมบำรุงอาคาร: ตรวจ-ซ่อมหลังคารับหน้าฝนก่อนเข้าหน้าฝน ควรสำรวจและปรับปรุงส่วนต่างๆ ของบ้านที่อาจรั่วซึมได้เมื่อต้องเจอฝนตกหนัก มาสำรวจและซ่อมแซม 4 จุดที่มักเกิดการรั่วซึมกัน ตรวจและซ่อมหลังคารั่ว
ตรวจและซ่อมหลังคารั่ว
1. หลังคา
หลังคาเป็นส่วนของบ้านที่โดนแดดและฝนมากที่สุด จึงควรสำรวจเป็นจุดแรกและทำเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีวิธี ตรวจและซ่อมหลังคารั่ว ดังนี้
การตรวจสอบ
สังเกตจากภายนอก เป็นวิธีการเบื้องต้นในการตรวจหาสิ่งผิดปกติ เช่น รอยแตกร้าว กระเบื้องมีการเผยอขึ้นกว่าปกติ มีเศษกระเบื้องหรือปูนหล่นลงมา หากมีน้ำรั่วเข้ามา อาจมีเสียงหยดน้ำหรือเสียงน้ำไหล ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่ต้องรีบแก้ไข
เปิดฝ้าเพดานดูใต้หลังคา ฝ้าเพดานชั้นบนควรติดตั้งช่องเซอร์วิสอย่างน้อย 1 จุด ซึ่งเป็นช่องฝ้าเพดานที่เปิดได้ ขนาด 60 x 60 เซนติเมตร สำหรับขึ้นไปซ่อมบำรุง แนะนำให้ไปสำรวจ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงฝนตกก็จะเห็นน้ำรั่วได้ แต่น้ำอาจไหลมาจากจุดอื่นด้วย จึงควรสำรวจช่วงกลางวันอีกครั้ง โดยมองหาจุดที่มีแสงแดดลอดผ่านลงมา และจดตำแหน่งไว้เพื่อชี้จุดให้ช่างได้ถูกต้อง
ตรวจหาคราบน้ำที่ฝ้าเพดานและผนัง หากพบผนังหรือฝ้าเพดานมีความชื้นผิดปกติ เป็นไปได้มากที่จะมีน้ำรั่วซึมเข้ามา ซึ่งในระยะแรกจะยังไม่เกิดคราบชัดเจน เมื่อความชื้นสะสมมากขึ้นจึงเกิดคราบน้ำ อาจเป็นคราบสีน้ำตาลหรือมีอาการโป่งพอง หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะเกิดเชื้อรา มีกลิ่นอับ และฝ้าทะลุได้
ทำฝนเทียม ทำการฉีดน้ำให้ตกลงมาคล้ายฝนเพื่อค้นหาจุดที่รั่วซึม
การแก้ไข
หากพบรอยรั่ว แตก ร้าวบนกระเบื้องมุงหลังคาไม่มากสามารถอุดซ่อมได้ แต่ถ้ารูรั่วมีขนาดกว้างหรือมีโอกาสลุกลาม ควรเปลี่ยนกระเบื้องแผ่นใหม่
มีรูรั่วเป็นจุด บริเวณหัวสกรู หรือรอยแตกขนาด 1-5 มิลลิเมตร ให้อุดด้วยวัสดุอุดประเภทพอลิยูรีเทน โดยทำความสะอาด ปล่อยให้แห้ง ยิงด้วยปืนอุดรอยรั่วให้ทั่ว แล้วทาทับอีกชั้นด้วยวัสดุกันซึม
ครอบหลังคามีรอยแตกหรือรอยแยก ถ้ารอยแตกกว้างกว่า 5 มิลลิเมตรหรือรอยแตกไม่สม่ำเสมอ ให้ปิดด้วยเทปปิดรอยต่อกันน้ำ โดยทำความสะอาดแล้วติดเทปให้แนบสนิทไม่มีฟองอากาศด้วยมือหรือลูกกลิ้ง การต่อระหว่างแผ่นให้ทับซ้อนกันอย่างน้อย 5 เซนติเมตร แล้วทาทับอีกชั้นด้วยวัสดุกันซึม ถ้ารั่วซึมบริเวณสันหลังคา สามารถใช้ปิดรอยต่อกระเบื้องหลังคาก่อนติดตั้งครอบสัน
อ่านต่อ :
เช็ก 5 สัญญาณหลังคารั่ว รู้ก่อนเกิดปัญหา
รวมวัสดุหลังคาโปร่งแสงยอดนิยม
2. ดาดฟ้า
ดาดฟ้าคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้งานมานานมักเกิดรอยแตกร้าว จึงควรสังเกต ตรวจและซ่อมหลังคารั่ว ดังนี้
การตรวจสอบ
สังเกตรอยแตกร้าว ทั้งพื้นผิวบนดาดฟ้าและใต้พื้นดาดฟ้าถ้าผิวด้านบนเป็นรอยร้าวที่มีน้ำซึมเป็นเวลานาน มักเกิดเป็นคราบตะไคร่ในร่องผิวปูนแตกร่อนหากน้ำซึมลงไปใต้พื้นจะเห็นคราบน้ำ และถ้าปล่อยทิ้งไว้ เหล็กเสริมในคอนกรีตจะเป็นสนิมและดันเนื้อคอนกรีตให้แตกร้าว
ขังน้ำ โดยอุดรูระบายน้ำด้วยดินน้ำมัน แล้วขังน้ำสูงประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วสังเกตจุดรั่วซึม
การซ่อมแซม
ซ่อมแซมรอยแตกหรือรอยต่อ ด้วยปูนซ่อมแซมอเนกประสงค์ตัวตามขั้นตอนดังนี้
ตรวจและซ่อมหลังคารั่ว
1.ทำความสะอาดพื้นผิว หาพื้นผิวหลุดล่อน ให้สกัดออกจนถึงผิวที่แน่น
2.ถ้าเสียหายจนถึงเหล็กเสริม ให้ทำความสะอาดเหล็กเสริม ทาน้ำยากันสนิม แล้วผสมปูนซ่อมแซมอเนกประสงค์กับน้ำยาประสานคอนกรีต ทาบนผิวเหล็กเสริมเพื่อป้องกันการกัดกร่อนและเพิ่มแรงยึดเกาะในการฉาบ
ตรวจและซ่อมหลังคารั่ว
3.บ่มน้ำบนพื้นผิวที่จะทำการซ่อมให้หมาดก่อนทำงาน
4.ฉาบด้วยเกรียง กดให้แน่น อาจทำการฉาบแต่ง 1 ถึง 2 ชั้น โดยทิ้งช่วงห่างในแต่ละชั้นราว 2-2.5 ชั่วโมง
ทาวัสดุกันซึม
ตรวจและซ่อมหลังคารั่ว
ทำความสะอาดพื้นผิวและปล่อยให้แห้งสนิท จากนั้นใช้แปรงหรือลูกกลิ้งทาลงบนพื้นผิวแล้วปล่อยให้แห้ง 4 ชั่วโมง ก่อนทารอบสอง
เสริมแรงด้วยตาข่ายไฟเบอร์ในจุดที่แตกร้าว และบริเวณรอยต่อพื้นกับผนัง โดยปูในขณะที่ชั้นแรกยังไม่แห้ง
ทารอบที่สองในทิศทางตั้งฉากกับรอบแรก โดยให้เนื้อฟิล์มกลบแผ่นตาข่ายไฟเบอร์ได้สนิท แล้วปกป้องพื้นผิวไม่ให้โดนน้ำ 3 วัน
3. ผนัง
ผนังที่มักมีปัญหาน้ำรั่วซึมคือผนังที่ไม่มีชายคาคลุม ทำให้โดนน้ำฝนโดยตรง รวมถึงผนังที่แตกร้าวจากการเคลื่อนไหวของโครงสร้าง จึงทำให้เกิดช่องที่น้ำซึมเข้าบ้านได้
การตรวจสอบ
สังเกตรอยร้าวและคราบน้ำที่ผนัง โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อผนังกับเสาและคาน ทั้งภายนอกและภายในบ้าน หากพบการร้าวที่มีแนวโน้มขยายตัว ให้ใช้ปากกาทำเครื่องหมายที่ปลายรอยร้าวไว้ วัดความกว้างรอยร้าวแล้วจดไว้พร้อมวันที่ หากมีการขยายความยาวและความกว้างเรื่องๆ อาจมีสาเหตุจากโครงสร้างเสียหายซึ่งควรปรึกษาวิศวกร
การซ่อมแซมผนังภายนอก
รอยแตกลายงา และรอยแตกที่กว้างน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร ทาด้วยวัสดุกันซึมซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง
รอยแตกกว้าง 2-10 มิลลิเมตร อุดรอยแตกด้วยวัสดุอุดประเภทพอลิยูรีเทน แล้วทาทับอีกชั้นด้วยวัสดุกันซึม
รอยแตกกว้างมากกว่า 10 มิลลิเมตร อุดและฉาบตกแต่งด้วยปูนซ่อมแซมอเนกประสงค์ จากนั้นทาทับอีกชั้นด้วยวัสดุกันซึม
4. รอยต่อต่างๆ
รอยต่อของการติดตั้งวัสดุประกอบอาคาร เช่น ประตู-หน้าต่าง และกันสาดเป็นอีกจุดที่มักมีการรั่วซึม เนื่องจากการเสื่อมสภาพของวัสดุอุดรอยต่อเดิม
การตรวจสอบ
ทดลองกดที่วัสดุอุดรอยต่อ หากไม่ยืดหยุ่น มีรอยแยก หรือหลุดล่อนออกมาก็ควรเปลี่ยนวัสดุอุดรอยต่อใหม่
การซ่อมแซม
รอยต่อขอบวงกบประตู-หน้าต่าง
1.กรีดวัสดุอุดรอยต่อเดิมออก แล้วทำความสะอาด ปล่อยให้แห้งสนิท
2.ติดเทปกาว เพื่อป้องกันส่วนเกินออกมานอกแนว
3.ใช้ปืนยิงวัสดุอุดรอยต่อประเภทพอลิยูรีเทน โดยกดหัวปืนให้แน่นและบีบให้เต็มร่อง
4.ปาดผิวให้เรียบภายใน 10-20 นาที เช็ดทำความสะอาดส่วนเกินด้วยผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำหมาด
5.ลอกกระดาษกาวด้านข้างออกภายใน 10-15 นาที ก่อนวัสดุอุดรอยต่อแห้งตัว ทิ้งไว้ 48-72 ชม. ก่อนใช้งาน