จัดฟันบางนา: เมื่อ ฟันโยก ควรทำอย่างไร ? ฟันโยก สำหรับเด็กที่ยังมีฟันแท้ขึ้นไม่ครบ 32 ซี่ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับทุกท่าน เนื่องจากว่าฟันน้ำนมจะเกิดการโยกและหลุดออกเพื่อมีพื้นที่ให้ฟันแท้งอกขึ้นมาทดแทน แต่หากว่าเป็นการเกิดฟันโยกในวัยผู้ใหญ่กลับหมายถึงสัญญาณอันตรายที่คอยบ่งบอกว่าเหงือกหรือฟันของท่านกำลังมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นในขณะนี้นั่นเอง ซึ่งหากว่าได้รับสัญญาณเตือนนี้แล้วยังไม่รีบทำการรักษา ผลสุดท้ายท่านอาจจะต้องสูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติไปอย่างไม่มีวันกลับมานั่นเอง
ซึ่งในวันนี้จะขอพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ ฟันโยก สัญญาณอันตรายของเหงือกและฟัน ว่าจะมีวิธีการ หรือควรทำตัวอย่างไรหากมีอาการฟันโยก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ทำอย่างไรดี เมื่อฟันโยก ?
หากว่าเป็นการเกิดฟันโยกในช่วงวัยเด็ก หากไม่มีอาการแทรกซ้อนก็ไม่ต้องไปคิดอะไรมากปล่อยให้โยกและหลุดไปเองตามธรรมชาตินั่นเอง เพราะหากว่าทำการถอนออกก่อนที่จะถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมจะยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดความเจ็บปวดและเสี่ยงเหงือกติดเชื้อตามมาด้วย
แต่หากว่าเป็นฟันโยกที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ควรเข้าพบทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาป้องกันให้ถูกจุด ดังต่อไปนี้
ฟันโยกจากการกัดฟัน
หากว่าเกิดฟันโยกจากการกัดฟันรุนแรงในขณะที่นอนหลับซึ่งสามารถแก้ไขได้ยากด้วยตนเองจึงจำเป็นที่จะต้องรักษากับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา เพราะหากว่าปล่อยทิ้งไว้เพราะคิดว่าเป็นเพียงแค่เรื่องธรรมชาติ ท่านอาจจะต้องสูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติ รวมถึงมีความเสี่ยงต่อกระดูกขากรรไกรอีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ทันตแพทย์มักนิยมใช้การรักษา 2 แบบ สำหรับคนไข้ที่ชอบนอนกัดฟัน ก็คือ การตัดแต่งผิวเคลือบฟัน เพื่อลดการเกิดแรงกดที่เกิดจากการกัดฟัน และอีกวิธีก็คือการใส่ฟันยาง เพื่อลดแรงกดและการกระแทกกระทบของฟัน ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ใส่ฟันยางเพื่อลดการกระแทกในขณะนอนหลับนั่นเอง
ฟันโยกจากโรคเหงือก
หากว่าเป็นการฟันโยกจากโรคเหงือก ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมากๆ หากปล่อยทิ้งไว้โดยที่ไม่ทำการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ เนื่องจากว่าโรคเหงือกนั้นสามารถติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว สร้างความเจ็บปวด และทำร้ายรากฟันอย่างเป็นวงกว้างได้ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะมีขั้นตอนต่างๆตามการวินิจฉัยตามอาการความรุนแรงของโรคเหงือกและฟันที่โยก ดังต่อไปนี้
– รับประทานยา
ในขั้นแรกสำหรับคนไข้ที่ไหวตัวเร็วเข้ารับการรักษาตั้งแต่ที่ยังไม่มีอาการร้ายแรงมากนัก หรือยังไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย ทันตแพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทันตแพทย์จะให้ผู้ที่มีอาการฟันโยกในระยะเริ่มต้นทานยาเหล่านี้เพื่อแก้อาการปวด และฆ่าเชื้อก่อนจะเริ่มต้นขั้นอื่นๆ แต่หากว่ารับประทานยาปฏิชีวนะเหล่านี้แล้วมีอาการที่ดีขึ้นก็จะหยุดเพียงแค่ขั้นตอนนี้
– ขูดหินปูน
ทันตแพทย์อาจจะแนะนำให้คนไข้ทำการขูดหินปูน เพื่อกำจัดคราบสกปรกที่ก่อตัวเป็นคราบ และเป็นหนึ่งในการป้องกันต้นเหตุของโรคเหงือกร้ายแรง
– เกลารากฟัน
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ในการทำความสะอาดที่ลึกลงไปบริเวณรากฟัน เพื่อฆ่าเชื้อและสิ่งสกปรกต่างๆที่เป็นต้นเหตุของโรคเหงือก และก่อให้เกิดฟันโยก
– ใส่เฝือกฟัน
หากว่าอาการฟันโยกยังอยู่ในลักษณะที่ไม่ได้ใกล้จะหลุด ทันตแพทย์จะใช้วิธีใส่เฝือกฟันเพื่อยึดติดไม่ให้ฟันที่โยกนั้นหลุดออกมา
– ฝังรากฟันเทียมและใส่สะพานฟัน
หากว่ามีอาการฟันโยกอยู่ในขั้นรุนแรง ทันตแพทย์จำเป็นต้องถอนฟันซี่ที่โยกออก และทำการรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียม หรือใส่สะพานฟันเพื่อป้องกันฟันซี่ข้างๆฟันที่โยกล้มทับกันอีก
ทั้งหมดนี้ก็คือการรักษาอาการฟันโยกเบื้องต้น ที่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นจากโรคเหงือกที่กำลังติดเชื้อ และพฤติกรรมความผิดปกติกัดฟันในขณะนอนหลับ เมื่อท่านเริ่มมีอาการฟันโยกให้นึกไว้เสมอว่าฟันและเหงือกของท่านกำลังจะมีปัญหา อย่าละเลยสัญญาณเตือนเหล่านี้โดยเด็ดขาด