กระชายสกัด: รับประทานกระชายขาวอย่างไร ? ถึงจะช่วยป้องกันโควิด-19“ กระชายขาว ” หรือ กระชาย เป็นสมุนไพรที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน และนิยมนำมาประกอบอาหาร ซึ่งมีสรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย กระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบการย่อยอาหาร ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เสริมสรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
ในเดือนมิถุนายน 2563 ทีมวิจัยของจากคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกระชายขาว พบว่า ในกระชายขาว มีสารอยู่ 2 ตัว ที่มีฤทธิ์ต้านโควิด-19 สูงมาก โดยทีมวิจัยค้นพบว่ามีสารสกัดจากกระชายขาวที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ได้ โดยสารสำคัญทั้ง 2 ตัวที่อยู่ในกระชายขาว คือ
Pandulatin A ( แพนดูราทินเอ )
Pinostrobin ( พิโนสโตรบิน )
ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดทั้งสองตัวนี้ในกระชายขาว สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสต้นเหตุของโควิด-19 ได้ โดยสารทั้งสองตัวนี้สามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อจาก 100% ได้ถึง 0% เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งเซลล์ในการผลิตไวรัสได้ถึง 100% อีกด้วย
รับประทานกระชายขาวอย่างไร ? ถึงจะช่วยป้องกันโควิด-19
สืบเนื่องจากข้อมูลงานวิจัยข้างต้น หากจะใช้กระชายขาวเพื่อต้านโรคโควิด-19 ให้ได้ผลตามการวิจัยจึงควรจะต้องใช้ในรูปแบบของ “สารสกัดจากกระชาย” เพื่อกำหนดปริมาณสารสำคัญที่จะออกฤทธิ์ได้แน่นอน และสามารถควบคุมปริมาณในการรับประทานให้เหมาะสม ทำให้ไม่ต้องรับประทานมากเกินไป ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัยในสัตว์ และในคนตามลำดับ
ในสถานการณ์ปัจจุบันมีความสนใจนำกระชายมาใช้เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อป้องกันโควิด-19 กันอย่างแพร่หลาย จึงขอฝากคำแนะนำในการรับประทานกระชายอย่างเหมาะสม ดังนี้
- น้ำกระชายที่ดี ควรต้มเป็นน้ำดื่มจะดีกว่าปั่น หรือ คั้นสด
- กระชายปั่น ไม่ควรดื่มมากเกินไป( ดื่มวันละไม่เกิน 1 แก้วเป๊ก )โดยผสมน้ำผึ้ง มะนาว
- กระชาย ไม่ควรดื่มติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานานๆ (ดื่ม 5 วัน แล้วหยุด 2-3)
- หรือเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระชายขาวสกัดชนิดเม็ดแทน
ข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานกระชายขาว
1. ไม่ควรรับประทานกระชายดิบ ปั่นหรือคั้นสด เพราะถึงแม้กระชายจะมีสารต้านโควิด-19 แต่อาจจะมีสารบางชนิด ที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อร่างกายได้ การนำมาต้มจึงเป็นการช่วยทำลายสารพิษบางชนิดที่มีในกระชายได้ระดับนึง
2. มีการศึกษาวิจัยพบว่า กระชายจะออกฤทธิ์ได้ดี จากสารสกัด ดังนั้น การนำกระชายมาต้มน้ำดื่ม จึงการสกัดอย่างง่ายอีกวิธีนึง (แต่จะยังไม่ได้สารสำคัญเทียบเท่าการสกัดในการวิจัย)
ข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานกระชายขาว
1. ไม่แนะนำในเด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
2. เนื่องจากมีความเป็นสมุนไพร จึงควรระวังและควรปรึกษาแพทย์ในผู้ที่ตับอักเสบมาก คือ มีค่าการทำงานของตับ เอนไซม์ SGOT SGPT มากกว่า 40 IU
3. ควรระวัง และควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือเกล็ดเลือด และผู้ที่มีโรคเกล็ดเลือดต่ำ